จังหวัดมหาสารคาม
จังหวัดมหาสารคาม เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ใจกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีบรรยากาศเต็มไปด้วยความสงบ และเป็นศูนย์กลางทางด้านการศึกษาของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงได้ชื่อว่าเป็น"ตักศิลาแห่งอีสาน เนื่องจากมีสถาบันการศึกษาอยู่มากมายหลายแห่ง อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 475 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 5,291 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 11 อำเภอ และ 2 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมืองมหาสารคาม กันทรวิชัย โกสุมพิสัย วาปีปทุม บรบือ พยัคฆภูมิพิสัย นาเชือก เชียงยืน นาดูน แกดำ ยางสีสุราช กิ่งอำเภอกุดรังและกิ่งอำเภอชื่นชม ประวัติเมืองมหาสารคาม เมืองมหาสารคามถือว่าเป็นเมืองแหล่งโบราณคดีที่สำคัญและยาวนานมาหลายร้อยปี เพราะได้พบหลักฐานทางโบราณคดีที่ได้รับอิทธิพลทางพุทธศาสนา ตั้งแต่สมัยคุปตะตอนปลายและปาละวะของอินเดียผ่านเมืองพุกามมาในรูปแบบของศิลปะสมัยทวาราวดี เช่น บริเวณเมืองกันทรวิชัย (โคกพระ) และเมืองนครจำปาศรี โดยพบหลักฐาน เป็นพระยืนกันทรวิชัย พระพิมพ์ดินเผา ตลอดทั้งพระบรมสารีริกธาตุ นอกจากนั้นแล้วยังได้รับอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ ผ่านมาทางชนชาติขอม ในรูปแบบสมัยลพบุรี เช่น กู่สันตรัตน์ กู่บ้านเขวา กู่บ้านแดง และกู่อื่น ๆ รวมไปจนถึงเทวรูปและเครื่องปั้นดินเผาของขอมอยู่ตามผิวดินทั่ว ๆ ไปในจังหวัดมหาสารคาม มหาสารคามตั้งอยู่ตอนกลางของภาคอีสาน มีชนหลายเผ่า เช่น ชาวไทยพื้นเมืองพูด ภาษาอีสาน ชาวไทยย้อ และชาวผู้ไท ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี "ฮีตสิบสอง" ประกอบอาชีพด้านกสิกรรมเป็นส่วนใหญ่ ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายมีการไปมาหาสู่กัน ช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยกันตามแบบของคนอีสานทั่วไป เมืองมหาสารคามนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ยกบ้านลาดกุดยางใหญ่ขึ้นเป็นเมือง เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2408 โดยแยกพื้นที่และพลเมืองราวสองพันคนมาจากเมืองร้อยเอ็ด และโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวมหาชัย (กวด ภวภูตานนท์) เป็นพระเจริญราชเดชเจ้าเมือง มีท้าวบัวทอง เป็นผู้ช่วยขึ้นกับเมืองร้อยเอ็ด ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้แยกเมืองมหาสารคามขึ้นกับกรุงเทพ ฯ เมื่อ พ.ศ. 2412 และร้อยเอ็ดได้แบ่งพลเมืองให้อีกเจ็ดพันคน พลเมืองเดิมอพยพมาจากเมืองจำปาศักดิ์ ท้าวมหาชัยและท้าวบัวทองนั้น เป็นหลานโดยตรงของพระยาขัติยวงศา(สีลัง) เจ้าเมืองคนที่ 2 ของเมืองร้อยเอ็ด เดิมกองบัญชาการของเมืองมหาสารคามตั้งอยู่ที่เนินสูงแห่งหนึ่งใกล้กุดนางใย ได้สร้างศาลเจ้าพ่อหลักเมือง และศาลมเหศักดิ์ขึ้นเป็นที่สักการะของชาวเมือง ต่อมาสร้างวัดดอนเมืองแล้วเปลี่ยนชื่อเป็นวัดข้าวฮ้าว (วัดธัญญาวาส) และได้ย้ายกองบัญชาการไปอยู่ริมหนองกระทุ่มด้านเหนือของวัดโพธิ์ศรีปัจจุบัน ในปี พ.ศ.2456 หม่อมเจ้านพมาศ นวรัตน์ เป็นปลัดมณฑลประจำจังหวัด โดยความเห็นชอบของพระมหาอำมาตยาธิบดี (เส็ง วิริยะศิริ) ได้ย้ายศาลากลางมาอยู่ ณ ที่ตั้งศาลากลางหลังเดิม (ที่ว่าการอำเภอเมืองปัจจุบัน) และในปี พ.ศ. 2542 ได้ย้ายศาลากลางมาอยู่ ณ ที่ตั้งปัจจุบันมีผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองหรือผู้ว่าราชการจังหวัด รวม 42 คน และผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการ จังหวัดมหาสารคามคนปัจจุบัน คือ นายพินิจ เจริญพาณิชย์
ตราจังหวัดมหาสารคาม
รูปต้นไม้กับทุ่งนา
เป็นรูปต้นไม้ใหญ่และท้องทุ่ง หมายถึง พื้นดินอันอุดมให้ความสุขสมบูรณ์แก่ประชาชน ซึ่งมีการทำนาเป็นอาชีพหลัก พื้นที่ในจังหวัดนี้อุดมสมบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหาร นอกจากการทำนาชาวเมืองยังมีอาชีพอีกหลายอย่าง เช่น ทำเกลือสินเธาว์ ไร่ฝ้าย ยาสูบ และเลี้ยงไหม เมืองมหาสารคามแยกออกมาจาก แขวงเมืองร้อยเอ็ดในสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์จังหวัดมหาสารคามใช้อักษรย่อว่า "มค"
คำขวัญประจำจังหวัดมหาสารคาม"พุทธมณฑลอีสาน ถิ่นฐานอารยธรรม ผ้าไหมล้ำเลอค่า ตักสิลานคร"
ดอกไม้ประจำจังหวัด
ชื่อพื้นบ้านอีสาน
จำปาขาว
ชื่อทั่วไป
ลั่นทมขาว จำปาขาว ลีลาวดี
ชื่ออื่น
ชื่อสามัญ
Temple Tree, Pagoda Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์
Plumeria obtusa L.
วงศ์
APOCYNACEAE
ประเภท
ไม้ยืนต้นขนาดเล็กลั่นทมขาวเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก กิ่งก้านเปราะ อุ้มน้ำ สูงประมาณ ๔-๖ เมตร เปลือกเรียบเกลี้ยง สีเขียวอมเทา ภายในต้นมีน้ำยางสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ออกตรงกันข้ามรูปใบหอกกลับหรือ ลักษณะรูปไข่กลับ กว้าง 5- 8 ซม. ยาว 20- 32 ซม.
ลักษณะวิสัย
โคนใบสอบแคบ ปลายใบมน แผ่นใบหนาเป็นมัน สีเขียวเข้ม ท้องใบมีขนสั้น ๆ ประปราย ดอกออกเป็นช่อตามปลายยอด ดอกมีสีขาว กลิ่นหอม มีกลีบดอก ๕ กลีบ โคนกลีบซ้อนกันเป็นรูปหลอด มีกลิ่นหอม ผลแห้งเป็นฝักคู่สีม่วงแกมน้ำตาล เมล็ดมีขนสีขาว ฝักยาวเรียว เมล็ดแบน
การขยายพันธ์
ใช้เมล็ดและกิ่งตอนปลูก
สภาพที่เหมาะสม
ไม้ชอบขึ้นกลางแจ้ง
ถิ่นกำเนิด
-
ประโยชน์
ปลูกเป็นไม้ประดับประโยชน์ทางสมุนไพรเปลือกราก : ใช้เป็นยาระบาย ขับน้ำเหลืองเสีย รักษาโรคงูสวัด น้ำยาง : ใช้ทาโรคหิด งูสวัด เมล็ด : ใช้เป็นยาห้ามเลือดภายใน ดอก : ผสมกับพลู เป็นยาแก้ไข้ ไข้มาเลเรีย ฝัก - ใช้ฝนทาแก้ริดสีดวงทวาร
เนื้อบทเพลงมาร์ช จังหวัดมหาสารคามกำหนดสาระของบทเพลง : วิชัย ทัศนเศรษฐ์ประพันธ์คำและทำนอง : สำเร็จ คำโมง
การเดินทาง
จากกรุงเทพฯ - จ.มหาสารคาม ตามเส้นทาง ถนนมิตรภาพ และเลี้ยวขวาไปตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 23 รวมระยะทาง 447 กม. เดินทางด้วยรถยนต์ส่วนบุคคล ใช้เวลาประมาณ 6 ชม.
แผนที่จังหวัดมหาสารคาม
สถานที่พัก
· สถานที่บริการอำนวยความสะดวกในจังหวัดมหาสารคาม ได้แก่ โรงแรม ร้านอาหาร ส่วนใหญ่อยู่ในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม
· มหาสารคามมีโรงภาพยนตร์ในตัวเมือง 2 แห่ง มีผับ บาร์ คาราโอเกะ สนุกเกอร์ มีอยู่ทั่วไป ศูนย์การค้า
· สระว่ายน้ำของราชการและเอกชนมี 2 แห่ง
· สนามไดร์กอล์ฟ 2 แห่ง
แนะนำ
บริการ
ที่ตั้ง
โทร.
28 ช่องไดร์ฟมาตรฐาน มีเครื่องตั้งลูกอัตโนมัติความยาว 250 หลา พร้อมสนามพัท, ชิพ.. พิเศษลูกกอล์ฟใหม่ 5 ถาด / 100.- บาท มีบริการฟิตเนสฟรี
บ้านหนองจิก
We use cookies to ensure that we give you the best experience on our website. If you continue to use this site we will assume that you are happy with it.